วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

เกี่ยวกับบล็อค


บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

ผู้จัดทำ นางสาวเย็นฤดี จันทร์ไตรัต
รหัสนักศึกษา 603150110600 ชั้นปีที่ 2

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน บทที่ 3


         ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นวิเคราะห์ภาระงานปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุงานและภาระงานโดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานและระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติการออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ( ขั้นการกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ setting learning goals ) ลักษณะสำคัญของงานคือต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้ กับผู้เรียนมีความท้าทายและไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทำไม่ได้ในขณะเดียวกันและครอบคลุมสาระสำคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้งเพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ



ชื่อเรื่อง  แรงดันอากาศ

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
1. จุดประสงค์
          1. นักเรียนบอกได้ว่าแรงดันอากาศภายนอกแก้วมากกว่าแรงดันอากาศภายในแก้ว
          2. นักเรียนสามารถบอกทิศทางของแรงดันอากาศที่กระทำต่อวัตถุ
2. สาระที่ควรเรียนรู้
          - อากาศมีน้ำหนักและอากาศมีแรงดันบนที่สูงจะมีแรงดันอากาศน้อยกว่าบนพื้นดิน
3. ประสบการณ์สำคัญ
          - การรู้จักการรอคอย จากการรอทำการทดลองต่อเพื่อน
          - การใช้ภาษาในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
          - การคิดเชิงเหตุผล คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการลงความคิดเห็น
          - การแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบโดยการใช้ประสาทสัมผัสด้านการมอง ฟัง และสัมผัสสิ่งต่าง ๆ
4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
          1. ครูทักทายนักเรียนและแนะนำตัวเอง และบอกว่าวันนี้นักเรียนจะเรียนรู้เรื่องอะไร
          2. ครูกระตุ้นคำถาม เด็ก ๆ อากาศอยู่ที่ไหนบ้างค่ะ
          3. ฝึกเด็กตั้งสมมติฐาน ด้วยการถามกระตุ้น เด็ก ๆ คิดว่าเราจะสามารถกักน้ำไว้ได้อย่างไร”
          4. ครูนำแผ่นชาร์ตการทดลองมาให้นักเรียนดู  พร้อมอธิบายการทดลองดังนี้

                           การทดลอง  กักน้ำไว้ได้
                    วัสดุอุปกรณ์
- อ่างน้ำพลาสติกขนาดใหญ่      
- ถ้วยตวงหรือเหยือกน้ำ         
- กรรไกร       
- แก้วขนาดเล็กที่มีขนาดพอดีมือเด็ก       
- ฝาพลาสติกกล่องไอศกรีมหรือกระดาษแข็ง
- หลอดดูด      
- แก้ว
                     ขั้นตอนการทดลอง
                               1. ให้เด็กตัดกระดาษแข็งเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยมเพื่อใช้ปิดปากแก้ว โดยกระดาษควรมีขนาดใหญ่กว่าปากแก้วประมาณ1เซนติเมตรกระดาษที่กว้างกว่าขอบแก้วมากจะช่วยให้คว่ำแก้วได้สะดวก
                               2. หลังจากนั้นเทน้ำลงในแก้วให้เต็ม
                               3. ให้เด็กทำการทดลองนี้โดยมีภาชนะขนาดใหญ่รอง
                               4. ให้เด็กใช้กระดาษปิดปากแก้วให้สนิท
                               5. ใช้มือกดกระดาษให้ติดกับปากแก้วให้แน่น
                               6. คว่ำแก้วลงช้าให้แก้วตั้งอยู่บนปลายฝ่ามือ ตอนนี้กระดาษจะอยู่ด้านล่าง หากแก้วตั้งอยู่บนนิ้วได้ตรงจะไม่มีน้ำไหลออกมาจากแก้ว
                               7. ถามเด็กว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อค่อยดึงแก้วขึ้นด้านบน ให้เด็กทุกคนนับ หนึ่งถึงสามเพื่อสร้างความตื่นเต้นจากนั้นให้เด็กยกแก้วขึ้นด้านบนช้า ๆ
          5. ครูสาธิตการทดลองให้นักเรียนดู
          6. อาสาให้ตัวแทนนักเรียนออกมาทำการทดลองให้เพื่อน ๆ ดู
          7. ครูชักชวนนักเรียนให้ทำการทดลอง
          8. จัดเตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ที่ได้แบ่งไว้เป็นกลุ่มๆ 4-5 คน แล้วให้นักเรียนเข้าประจำชุดการทดลอง
          9. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองว่า แรงดันอากาศภายนอกแก้วจะออกแรงดันกับกระดาษ ที่ปิดปากแก้วอยู่ตลอดเวลาและสามารถเอาชนะแรงดันอากาศภายในแก้วได้น้ำจึงถูกกักอยู่ในแก้วและเมื่อเราใช้กระดาษบางจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าแผ่นกระดาษนั้นโค้งเว้าเข้าไปภายในแก้ว  
5. สื่อ
1. อ่างน้ำพลาสติกขนาดใหญ่      
2. ถ้วยตวงหรือเหยือกน้ำ          
3. กรรไกร       
4. แก้วขนาดเล็กที่มีขนาดพอดีมือเด็ก      
5. ฝาพลาสติกกล่องไอศกรีมหรือกระดาษแข็ง
6. หลอดดูด     
7. แก้ว
8. แผ่นชาร์ตการทดลอง
9. แบบบันทึกการทดลอง
6. การประเมินผล
          1. สังเกตแรงดันของอากาศ
          2. สังเกตการสนทนาและการตอบคำถาม
          3. สังเกตการบันทึกผลการทดลอง

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนว...