วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน บทที่ 3


         ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นวิเคราะห์ภาระงานปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุงานและภาระงานโดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานและระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติการออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ( ขั้นการกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ setting learning goals ) ลักษณะสำคัญของงานคือต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้ กับผู้เรียนมีความท้าทายและไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทำไม่ได้ในขณะเดียวกันและครอบคลุมสาระสำคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้งเพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ



ชื่อเรื่อง  แรงดันอากาศ

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
1. จุดประสงค์
          1. นักเรียนบอกได้ว่าแรงดันอากาศภายนอกแก้วมากกว่าแรงดันอากาศภายในแก้ว
          2. นักเรียนสามารถบอกทิศทางของแรงดันอากาศที่กระทำต่อวัตถุ
2. สาระที่ควรเรียนรู้
          - อากาศมีน้ำหนักและอากาศมีแรงดันบนที่สูงจะมีแรงดันอากาศน้อยกว่าบนพื้นดิน
3. ประสบการณ์สำคัญ
          - การรู้จักการรอคอย จากการรอทำการทดลองต่อเพื่อน
          - การใช้ภาษาในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
          - การคิดเชิงเหตุผล คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการลงความคิดเห็น
          - การแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบโดยการใช้ประสาทสัมผัสด้านการมอง ฟัง และสัมผัสสิ่งต่าง ๆ
4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
          1. ครูทักทายนักเรียนและแนะนำตัวเอง และบอกว่าวันนี้นักเรียนจะเรียนรู้เรื่องอะไร
          2. ครูกระตุ้นคำถาม เด็ก ๆ อากาศอยู่ที่ไหนบ้างค่ะ
          3. ฝึกเด็กตั้งสมมติฐาน ด้วยการถามกระตุ้น เด็ก ๆ คิดว่าเราจะสามารถกักน้ำไว้ได้อย่างไร”
          4. ครูนำแผ่นชาร์ตการทดลองมาให้นักเรียนดู  พร้อมอธิบายการทดลองดังนี้

                           การทดลอง  กักน้ำไว้ได้
                    วัสดุอุปกรณ์
- อ่างน้ำพลาสติกขนาดใหญ่      
- ถ้วยตวงหรือเหยือกน้ำ         
- กรรไกร       
- แก้วขนาดเล็กที่มีขนาดพอดีมือเด็ก       
- ฝาพลาสติกกล่องไอศกรีมหรือกระดาษแข็ง
- หลอดดูด      
- แก้ว
                     ขั้นตอนการทดลอง
                               1. ให้เด็กตัดกระดาษแข็งเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยมเพื่อใช้ปิดปากแก้ว โดยกระดาษควรมีขนาดใหญ่กว่าปากแก้วประมาณ1เซนติเมตรกระดาษที่กว้างกว่าขอบแก้วมากจะช่วยให้คว่ำแก้วได้สะดวก
                               2. หลังจากนั้นเทน้ำลงในแก้วให้เต็ม
                               3. ให้เด็กทำการทดลองนี้โดยมีภาชนะขนาดใหญ่รอง
                               4. ให้เด็กใช้กระดาษปิดปากแก้วให้สนิท
                               5. ใช้มือกดกระดาษให้ติดกับปากแก้วให้แน่น
                               6. คว่ำแก้วลงช้าให้แก้วตั้งอยู่บนปลายฝ่ามือ ตอนนี้กระดาษจะอยู่ด้านล่าง หากแก้วตั้งอยู่บนนิ้วได้ตรงจะไม่มีน้ำไหลออกมาจากแก้ว
                               7. ถามเด็กว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อค่อยดึงแก้วขึ้นด้านบน ให้เด็กทุกคนนับ หนึ่งถึงสามเพื่อสร้างความตื่นเต้นจากนั้นให้เด็กยกแก้วขึ้นด้านบนช้า ๆ
          5. ครูสาธิตการทดลองให้นักเรียนดู
          6. อาสาให้ตัวแทนนักเรียนออกมาทำการทดลองให้เพื่อน ๆ ดู
          7. ครูชักชวนนักเรียนให้ทำการทดลอง
          8. จัดเตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ที่ได้แบ่งไว้เป็นกลุ่มๆ 4-5 คน แล้วให้นักเรียนเข้าประจำชุดการทดลอง
          9. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองว่า แรงดันอากาศภายนอกแก้วจะออกแรงดันกับกระดาษ ที่ปิดปากแก้วอยู่ตลอดเวลาและสามารถเอาชนะแรงดันอากาศภายในแก้วได้น้ำจึงถูกกักอยู่ในแก้วและเมื่อเราใช้กระดาษบางจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าแผ่นกระดาษนั้นโค้งเว้าเข้าไปภายในแก้ว  
5. สื่อ
1. อ่างน้ำพลาสติกขนาดใหญ่      
2. ถ้วยตวงหรือเหยือกน้ำ          
3. กรรไกร       
4. แก้วขนาดเล็กที่มีขนาดพอดีมือเด็ก      
5. ฝาพลาสติกกล่องไอศกรีมหรือกระดาษแข็ง
6. หลอดดูด     
7. แก้ว
8. แผ่นชาร์ตการทดลอง
9. แบบบันทึกการทดลอง
6. การประเมินผล
          1. สังเกตแรงดันของอากาศ
          2. สังเกตการสนทนาและการตอบคำถาม
          3. สังเกตการบันทึกผลการทดลอง

ตรวจสอบทบทวน บทที่ 5

เรื่อ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
         ร่างกายของคนเราประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่มีชื่อเรียกและมีหน้าที่แตกต่างกันไป อวัยวะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเราดำรง ชีวิตอยู่ได้ พ่อแม่และครูควรสอนเด็กให้รู้จักดูแลร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ และระวังรักษาให้อวัยวะของตนให้สมบูรณ์ปลอดภัยตลอดชีวิต




ตรวจสอบทบทวน บทที่ 7

 การทบทวนตนเองหลังการสอน
           การทบทวนตนเองหลังการสอนเป็นกระบวนการที่เหมาะกับการปฏิบัติงานในอาชีพ เพราะเป็น กระบวนการที่ควรปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ กระบวนการนี้มิใช่จะจําเป็นเฉพาะกับการสอนที่ดี เท่านั้น แต่ยังเป็นความจําเป็นพื้นฐานสําหรับมนุษย์ด้วย บอเมสเตอร์(Baumeister, 1991) กล่าวว่า ชีวิตมี ความหมายเมื่อเราสนองความต้องการ 4 ประการเหล่านี้ ได้แก่ 
           1) ด้านวัตถุประสงค์ 
           2) ด้านค่านิยม 
           3) ด้านประสิทธิผล และ 
           4) ด้านความพึงพอใจในตนเอง

ตรวจสอบทบทวน บทที่ 8

        การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcom) รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
         The SOLO taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่าง ๆ กันของคําถาม และคําตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็น ผลงานของ Biggs and Collis (1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed Learning Outcome, :เป็นระบบที่นํามาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความ หลากหลายของภาระงานทางวิชาการ โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร ปฏิบัติเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
         การใช้ SOLO Taxonomy ในการกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
         SOLO Taxonomy คือ การกําหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอน และการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่ SOLO Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสําคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ สิ่งที่สําคัญประการหนึ่งคือ ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความ ซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น SOLO Taxonomy ได้รับการเสนอโดย Biggs และ Collis
         The SOLO taxonomy เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and Collis (1982), “SOLO, มาจากคําว่า Structure of Observed Learning Outcome, เป็นระบบที่นํามาช่วยอธิบาย ว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงาน ทางวิชาการ โดยที่นิยามจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการ เรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
         การใช้ SOLO taxonomy จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจาก หลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น แนวคิดดังกล่าวถูกนําไปกําหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนําไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา การประเมิน ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน ซึ่ง ความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้าง เดี่ยว (Uni-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของ โครงสร้าง (Relational Level) และ (5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Biggs และ Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้ 1) กําหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน (To set learning objectives appropriate to where a student should be at a particular stage of their program) และ2) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน (To assess the learning outcomes attained by each student) เมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่า คํากริยาที่นํามาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับ ดังนี้
         • ระดับ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) นักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วน ๆ ที่ไม่ ปะติดปะต่อกัน ไม่มีการจัดการข้อมูล และความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
         • ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ไม่ แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
         • ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structural) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลาย ๆ ชนิดเข้า ด้วยกัน ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
         • ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลได้ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
         • ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract เชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับ ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสําคัญ และแนวคิดที่
ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
         ประเด็นสําคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ SOLO Taxonomy
         การปรับใช้ SOLO Taxonomy กับแนวคิดการสรรค์สร้างองค์ความรู้ ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ มีอยู่มากมาย อาทิ
         ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
         ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะ ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
         การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสําคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน ตามความสามารถ (แทน “สิ่งที่ครูมักระบุว่านักเรียนคนนั้น คนนี้ เก่ง / ไม่เก่ง หรือ ดี / ไม่ดี) และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนําไปสู่การเรียนรู้ที่ดี การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า
         • ทําให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น(ความมุ่งมั่น/เจตนา (Intended) การเรียนรู้ (Learning) ผลผลิต
(Outcomes)
         • การทดสอบสมรรถนะ --> ILO's --> การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ ILO ในการบรรลุผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
         SOLO Taxonomy มีเหมาะสมดีที่นํามาใช้ในการให้เหตุผลในการกําหนดสมรรถนะในหลักสูตร และรายวิชาต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
         การกําหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
                  SOL0 4 : การพูดอภิปราย สร้างทฤษฎี ทํานายหรือพยากรณ์
                  SOLO 3 : อธิบาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
                  SOLO 2 : บรรยาย รวมกัน จัดลําดับ
                  SOLO 1 : ท่องจํา ระบุ คํานวณ
บทบาทของการสอบ
         “การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อน” แนวคิดสําคัญ ในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการ ทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
         ทฤษฎีการวางแผน (ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
         ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ (และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
         ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด “การสอบคล้ายกับ “การปรับเปลี่ยนจากความชอ แรงจูงใจ (motivation) และแนวทางในการเรียนรู้ (learning guiding) ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียน สอนของครูผู้สอน
         การจัดลําดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม (Bloom Taxonomy 1956) เมื่อนํามาสัมพัน กับแนวคิด SOLO Taxonomy ของ Biggs & Collis 1982)
         SOLO 1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นความรู้ (จํา) ความเข้าใจ และการนําไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
         SOLO 3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมารค่า ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง การกําหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
         ระดับ SOLO 1 หมายถึง การเลียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิม (Imitative Maintenance) การเขียนแผนจะยึดตําราเป็นหลัก ทําแบบฝึกหัดตามหนังสือ จัดกิจกรรมซ้ำ ๆ เดิม ใช้สื่ออุปกรณ์สําเร็จรูป ไม่มีการประเมินการใช้จริง
         ระดับ SOLO 2 หมายถึง การปรับประยุกต์ใช้ (meditative) การนําแผนการสอนที่มีอยู่ให้สง มีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง (real world) มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อย คํานึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ
         ระดับ SOLO 3 หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative-generative) การเขียนแผนที่คํานึงถึง พฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จะเขียนแผนแนวทางมหภาค ใช้ผลงานการวิจัยประกอบ การสอน เน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
         ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับต่ำ / ปรับปรุง
         ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนําแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับปานกลาง/พอใช้
         ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.00 หมายความว่า มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The STUDIES Model ระดับสูงดี

5. จุดมุ่งหมายการศึกษาของมาร์ซาโน

         Marzano & Kendall, (2007) ได้พัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นใหม่ แบ่งเป็น 1) ระบบ ปัญญา (Cognitive System) 2) ระบบอภิปัญญา (Meta cognitive System) และ 3)ระบบตนเอง (Self System และได้จําแนกอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น 6 ขั้น
         ขั้นที่ 1 การดึงกลับคืนมา (Retrieval) ได้แก่ การระบุข้อความได้ (Recognizing) การระล (Recalling) และลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
         ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การบรณาการ (Integration) และการทําให้เป็น สัญลักษณ์ (Symbolizing)
         ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่ การจับคู่ได้ (Matching) แยกประเภทได้ (Classifying) วิเคราะห์ ความผิดพลาดได้ (Analyzing Error) ติดตามได้ (Generalizing) และชี้ให้จําเพาะเจาะจงได้ (Specifying)
         ขั้นที่ 4 การนําความรู้ไปใช้ (Knowledge Utilizing) ได้แก่ การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) และการสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจ ที่ลึกซึ้ง (Investigating)
         ขั้นที่ 5 อภิปัญญา (Meta-cognition) ได้แก่ การระบุจุดหมาย (Specifying Goals) การกํากับติดตาม กระบวนการ (Process Monitoring) การทําให้เกิดความชัดเจนในการกํากับติดตาม (Monitoring Clarity) และ การกํากับติดตามตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน (Monitoring Accuracy)
         ขั้นที่ 6 การมีระบบความคิดของตนเอง (Self-System thinking) ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพ(Examining Efficacy) การตรวจสอบการตอบสนองทางอารมณ์ (Examining Emotional Response) และการตรวจสอบแรงจูงใจ (Examining Motivation)
          Marzano, (2000) ได้นําเสนอมิติใหม่ทางการศึกษา ดังนี้
ตาราง มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบตนเอง
ระบบตนเอง (Self - System)
ความเชื่อเกี่ยวกับความสําคัญของความรู้ (Beliefs About the Importance of Knowledge)
ความเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพ(Beliefs About Efficacy)
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับ ความรู้ (Emotions Associated with Knowledge)

ตาราง มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบอภิปัญญา
การบ่งชี้จุดหมาย(Specifying Learning Goals)
การเฝ้าระวังในกระบวนการ /การนําความรู้ไปใช้(Monitoring the Execution Knowledge)
การทําให้เกิดความชัดเจน (Monitoring Clarity)
การตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน(Monitoring Accuracy)

         องค์ประกอบของการรู้คิดแบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ มาร์ซาโน กล่าวถึงองค์ประกอบสําคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ในการจัดการตนเอง (organizing) การกํากับติดตาม (Monitoring) การประเมิน (Evaluating) และการควบคุม(regulating) โดยแบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
         1. การระบุจุดหมายเฉพาะเจาะจง (Goal specification) คือ การกําหนดจุดหมายของชิ้นงาน (the job of the goal) ที่ผู้เรียนตัดสินใจเลือกปฏิบัติ โดยมีการกําหนดผลสําเร็จของงานในแต่ละขั้น
         2. การระบุกระบวนการที่ชัดเจน (Process specification) คือ การกําหนดความรู้ ทักษะหรือ กลวิธี ขั้นตอนกระบวนการเพื่อการบรรลุจุดหมายของชิ้นงานอย่างเหมาะสม
         3. การกํากับดูแลกระบวนการ (Process monitoring) คือ การติดตามควบคุมแต่ละกระบวนการ แต่ละขั้นตอนในการนําทักษะ กลวิธีไปใช้สร้างสรรค์งานชิ้นงานอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพโดย ใช้เวลาและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
         4. การกํากับดูแลการปฏิบัติของตน (Disposition monitoring) คือ เป็นการควบคุมตนเองในการ ปฏิบัติงานที่เหมะสม เพื่อให้งานเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ เช่น การให้ความสำคัญกับมุ่งเน้นผลผลิตที่มีความถูกต้อง แม่นยํา ความเป็นระบบ มีแรงจูงใจในการทํางาน มีส่วนร่วมในการทํางาน ฯลฯ
         แนวคิดเกี่ยวกับระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive system) ของ Marzano กล่าวสรุปองค์ประกอบ ของระบบอภิปัญญาได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การกําหนดจุดหมายของการเรียนรู้ (Specifying Learning Goals) 2) การกํากับติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา  (Monitoring the Execution of Knowledge) 3) การ ดูแลติดตามความชัดเจน (Monitoring Clarity) และ4) การกํากับติดตามให้เกิดความถูกต้อง(Monitoring Accuracy)
         แนวคิดการกําหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดร่วมกับปัจจัยที่ ส่งผลต่อการคิดของผู้เรียน ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษาที่มาร์ซาโน (Marzano) พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ระบบ ได้แก่
         1) Self – System คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในตนเองในการปฏิบัติภาระงานชิ้นงานด้วยความ เต็มใจตั้งใจมีความสุข และมีความมุ่งหวังให้งานเกิดความสําเร็จ
         2) Meta-cognitive System คือ ระบบการ ควบคุมตนเองให้ปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน ที่เกิดขึ้นให้บรรลุผล ด้วยการการกําหนดจุดหมายของการเรียนรู้ (Specifying Learning Goals) การดูแลติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา (Monitoring the Execution of Knowledge) การดูแลติดตามความชัดเจน (Clarity) และการดูแลติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy) และ
         3) Cognitive System คือ กระบวนการทางปัญญา (Mental Process) ที่จะปฏิบัติ ภาระงานชิ้นงานสําเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่งระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive System) ถือเป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบนําตนเอง (Self - Directed Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุมกํากับดูแลการปฏิบัติ ภาระงานชิ้นงาน ตามจุดหมายที่กําหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ ยุทธวิธีและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการติดตามดูแลปรับปรุงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆ ตามความจําเป็นและเหมาะสมให้ภาระงาน ชิ้นงานนั้นลุล่วงตามภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอน


4. การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม

         แอนเดอร์สัน และแครทโฮล (2001) ได้ปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม (Blooms Taxonomy revise) ดังตาราง
ตาราง การเปรียบเทียบ Bloom's Taxonomy 1956 และ 2001
New Version(Bloom's Taxonomy 2001)
Old Version (Bloom's Taxonomy 1956)
สร้างสรรค์-Creating
การประเมิน-Evaluation
ประเมิน-Evaluating
การสังเคราะห์Synthesis
วิเคราะห์-Analysing
การวิเคราะห์-Analysis
ประยุกต์-Applying
การนําไปใช้ Application
ความเข้าใจ-Understanding
ความเข้าใจ-Comprehension
ความจํา-Remembering
ความรู้ Knowledge

          Bloom (1956) ใช้คํานามในการอธิบายความรู้ประเภทต่าง ๆ ในฉบับปรับปรุง ปี 2001 ใช้คํากริยา และปรับเปลี่ยนคําว่าความรู้ (Knowledge) เป็น ความจํา (remember) เมื่อนําเขียนจุดมุ่งหมายการศึกษาของ หลักสูตรที่อิงมาตรฐาน (Standards – based curriculum) จะเขียนได้ว่า ผู้เรียนควรรู้และทําอะไรได้ (เป็นกริยา) และได้จัดความรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้อเท็จจริง (factual) มโนทัศน์ (concept) กระบวนการ (procedural) และอภิปัญญา (meta-cognition) และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม 2 ขั้น คือ ขั้นความเข้าใจ (comprehension) เปลี่ยนเป็น เข้าใจความหมาย (understand) และขั้นการประเมิน (evaluation) เป็น สร้างสรรค์ create)
         การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Revised's Bloom Taxonomy) ที่กล่าวถึงมิติ ทางการเรียนรู้ของ Bloom และคณะ (1956) ซึ่งแอนเดอร์สันและแครธโธล (Anderson & Krathwohl, 2001) ได้กล่าวถึงรายละเอียดของพฤติกรรมผู้เรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) โดยจําแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา ได้แก่ การจํา (remembering) เรียกความรู้จากหน่วยความจําระยะยาว     ความเข้าใจ (Understanding) ศึกษาความหมายจากข้อมูลที่เรียนรู้ รวมถึงการพูด การเขียนและการสื่อสาร ด้วยรูปร่าง ประยุกต์ใช้ (Applying) ประยุกต์ขั้นตอน/ กระบวนการในงานที่คุ้นเคย วิเคราะห์ (Analyzing) จําแนกองค์ประกอบและหาความสัมพันธ์เพื่อกําหนดโครงสร้างหรือเป้าหมายใหม่ ประเมิน (Evaluating) ตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์และมาตรฐาน และสร้างสรรค์ (Creating) จัดองค์ประกอบหรือหน้าที่ให้ เชื่อมโยงกันไปสู่รูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
         มิติด้านความรู้ จําแนกระดับความรู้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง (Factual Knowledge) พื้นฐานของผู้เรียนต้องรู้จักหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหา 2) ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์ (Conceptual Knowledge) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานในโครงสร้างทั้งหมดที่จะทําให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ 3) ความรู้ในการดําเนินการ Procedural Knowledge ) วิธีการสืบค้นและเกณฑ์ในการใช้ทักษะ เทคนิควิธีการ เพื่อดําเนินการ และ4) ความรู้อภิปัญญา (Metacognitive Knowledge ) ความรู้จากการรับรู้และความเข้าใจใน ตนเอง การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษานี้ได้กล่าวถึงอภิปัญญา (Meta Cognitive Knowledge) เป็นมิติหนึ่งของความรู้ คือ การมีความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางปัญญาโดยทั่วไป รู้ถึง ความรู้ในตนเอง ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษานี้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับอภิปัญญา (Meta cognitive knowledge) ตระหนักรู้ในตนเอง (meta awareness) การไตร่ตรอง ย้อนคิดในตนเอง (Self - reflect) และการ กํากับดูแลตนเอง (Self-regulation)
         เขียนตารางแสดงความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension) ได้ดังนี้
ตาราง ความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา กับ มิติด้านความรู้
Cognitive Process
The KnowledgeDimension
Remember
Understand
Apply
Analyze
Evaluate
Create
Factual
Conceptual
Procedural
Metacognitive

          Anderson & Krathwohl (2001) นําเสนอรูปแบบของอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ความรู้ทาง ปัญญา (Knowledge of Cognition) และกระบวนการในการดูแล ควบคุมกํากับติดตามตนเอง โดยแบ่งเป็น อภิปัญญาในความรู้ (Meta cognitive knowledge) และอภิปัญญาในการควบคุมตนเอง (Meta cognitive Control) และความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1. ความรู้ในกลยุทธ์วิธีการเรียนรู้ (Strategic knowledge) คือ ความรู้ในกลยุทธ์ยุทธวิธี การเรียนรู้ การคิดการแก้ไขปัญหาในทุกกลุ่มวิชา
          2. ความรู้ในการ เลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการเรียนรู้ (Knowledge about Cognitive tasks) คือ การเลือกกลยุทธ์ ยุทธวิธี ที่เหมาะสมกับภาระงานชิ้นงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพที่แตกต่างกัน และ   
          3. การรู้ในตนเอง (SelfKnowledge ) คือ การรู้ถึงความรู้ ความสามารถของตน การประเมินตนเองทั้งจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนา และ ควรพัฒนาตนเองอย่างไรเพื่อให้บรรลุภาระงานชิ้นหรือมีความรู้ที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหานั้นๆ


เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนว...