วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

4. การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม

         แอนเดอร์สัน และแครทโฮล (2001) ได้ปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม (Blooms Taxonomy revise) ดังตาราง
ตาราง การเปรียบเทียบ Bloom's Taxonomy 1956 และ 2001
New Version(Bloom's Taxonomy 2001)
Old Version (Bloom's Taxonomy 1956)
สร้างสรรค์-Creating
การประเมิน-Evaluation
ประเมิน-Evaluating
การสังเคราะห์Synthesis
วิเคราะห์-Analysing
การวิเคราะห์-Analysis
ประยุกต์-Applying
การนําไปใช้ Application
ความเข้าใจ-Understanding
ความเข้าใจ-Comprehension
ความจํา-Remembering
ความรู้ Knowledge

          Bloom (1956) ใช้คํานามในการอธิบายความรู้ประเภทต่าง ๆ ในฉบับปรับปรุง ปี 2001 ใช้คํากริยา และปรับเปลี่ยนคําว่าความรู้ (Knowledge) เป็น ความจํา (remember) เมื่อนําเขียนจุดมุ่งหมายการศึกษาของ หลักสูตรที่อิงมาตรฐาน (Standards – based curriculum) จะเขียนได้ว่า ผู้เรียนควรรู้และทําอะไรได้ (เป็นกริยา) และได้จัดความรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้อเท็จจริง (factual) มโนทัศน์ (concept) กระบวนการ (procedural) และอภิปัญญา (meta-cognition) และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม 2 ขั้น คือ ขั้นความเข้าใจ (comprehension) เปลี่ยนเป็น เข้าใจความหมาย (understand) และขั้นการประเมิน (evaluation) เป็น สร้างสรรค์ create)
         การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Revised's Bloom Taxonomy) ที่กล่าวถึงมิติ ทางการเรียนรู้ของ Bloom และคณะ (1956) ซึ่งแอนเดอร์สันและแครธโธล (Anderson & Krathwohl, 2001) ได้กล่าวถึงรายละเอียดของพฤติกรรมผู้เรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) โดยจําแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา ได้แก่ การจํา (remembering) เรียกความรู้จากหน่วยความจําระยะยาว     ความเข้าใจ (Understanding) ศึกษาความหมายจากข้อมูลที่เรียนรู้ รวมถึงการพูด การเขียนและการสื่อสาร ด้วยรูปร่าง ประยุกต์ใช้ (Applying) ประยุกต์ขั้นตอน/ กระบวนการในงานที่คุ้นเคย วิเคราะห์ (Analyzing) จําแนกองค์ประกอบและหาความสัมพันธ์เพื่อกําหนดโครงสร้างหรือเป้าหมายใหม่ ประเมิน (Evaluating) ตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์และมาตรฐาน และสร้างสรรค์ (Creating) จัดองค์ประกอบหรือหน้าที่ให้ เชื่อมโยงกันไปสู่รูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
         มิติด้านความรู้ จําแนกระดับความรู้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง (Factual Knowledge) พื้นฐานของผู้เรียนต้องรู้จักหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหา 2) ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์ (Conceptual Knowledge) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานในโครงสร้างทั้งหมดที่จะทําให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ 3) ความรู้ในการดําเนินการ Procedural Knowledge ) วิธีการสืบค้นและเกณฑ์ในการใช้ทักษะ เทคนิควิธีการ เพื่อดําเนินการ และ4) ความรู้อภิปัญญา (Metacognitive Knowledge ) ความรู้จากการรับรู้และความเข้าใจใน ตนเอง การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษานี้ได้กล่าวถึงอภิปัญญา (Meta Cognitive Knowledge) เป็นมิติหนึ่งของความรู้ คือ การมีความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางปัญญาโดยทั่วไป รู้ถึง ความรู้ในตนเอง ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษานี้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับอภิปัญญา (Meta cognitive knowledge) ตระหนักรู้ในตนเอง (meta awareness) การไตร่ตรอง ย้อนคิดในตนเอง (Self - reflect) และการ กํากับดูแลตนเอง (Self-regulation)
         เขียนตารางแสดงความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension) ได้ดังนี้
ตาราง ความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา กับ มิติด้านความรู้
Cognitive Process
The KnowledgeDimension
Remember
Understand
Apply
Analyze
Evaluate
Create
Factual
Conceptual
Procedural
Metacognitive

          Anderson & Krathwohl (2001) นําเสนอรูปแบบของอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ความรู้ทาง ปัญญา (Knowledge of Cognition) และกระบวนการในการดูแล ควบคุมกํากับติดตามตนเอง โดยแบ่งเป็น อภิปัญญาในความรู้ (Meta cognitive knowledge) และอภิปัญญาในการควบคุมตนเอง (Meta cognitive Control) และความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1. ความรู้ในกลยุทธ์วิธีการเรียนรู้ (Strategic knowledge) คือ ความรู้ในกลยุทธ์ยุทธวิธี การเรียนรู้ การคิดการแก้ไขปัญหาในทุกกลุ่มวิชา
          2. ความรู้ในการ เลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการเรียนรู้ (Knowledge about Cognitive tasks) คือ การเลือกกลยุทธ์ ยุทธวิธี ที่เหมาะสมกับภาระงานชิ้นงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพที่แตกต่างกัน และ   
          3. การรู้ในตนเอง (SelfKnowledge ) คือ การรู้ถึงความรู้ ความสามารถของตน การประเมินตนเองทั้งจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนา และ ควรพัฒนาตนเองอย่างไรเพื่อให้บรรลุภาระงานชิ้นหรือมีความรู้ที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหานั้นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนว...