วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

8. การทดสอบและการให้เกรด (Testing and Grading)

         การทดสอบ เป็นการนําข้อของคําถามที่สร้างขึ้นไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ ออกมา โดยสามารถสังเกตและวัดได้ การทดสอบนี้มักจะใช้ในการวัด และการประเมินผลการเรียนการ เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสําคัญ แบบทดสอบนี้มีด้วยกันหลายประเภท แล้วแต่เอง ใช้ในการจําแนกซึ่งพอจําแนกได้ดังนี้
จําแนกตามลักษณะการกระทํา ได้แก่
         1.1 แบบทดสอบแบบให้ลงมือทํากระทํา (Performance Test) ได้แก่ แบบทดสอบภาคปฏิบัติ ทั้งหลาย เช่น การทดสอบวิชาพลศึกษา การทดสอบวิชาขับร้องนาฏศิลป์ เป็นต้น
         1.2 แบบทดสอบแบบเขียนตอบ (Paper-Pencil Test) ได้แก่ การทดสอบที่ให้ผู้สอบต้องเขียน ตอบในกระดาษและการใช้การเขียนเป็นเกณฑ์ เช่น แบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบความเรียง เป็นต้น
         1.3 แบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) เป็นแบบทดสอบที่ผู้สอบต้องตอบด้วยวาจาแทนการ เขียนตอบ หรือการปฏิบัติ หรือการปฏิบัติ เป็นการเรียกมาซักถามกันตัวต่อตัว เหมือนกับการสอบสัมภาษณ์ แต่เป็นการซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระมากกว่าการสอบสัมภาษณ์ปกติ
จําแนกตามสมรรถภาพที่ใช้วัด ได้แก่
         2.1 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ ความสามารถและทักษะทางวิชาการที่ได้จากการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
                  2.1.1 แบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างเอง (Teach-made Test) เป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้น เฉพาะครั้งคราว เพื่อใช้ทดสอบความรู้ความสามารถและทักษะของผู้เรียนในห้องเรียนบางครั้งอาจเรียกว่า แบบทดสอบชั้นเรียน (Classroom Test) แบบทดสอบชนิดนี้เมื่อสอบเสร็จแล้วมักไม่ใช้อีก และถ้าต้องการ สอบใหม่ก็จะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเก่ามาใช้ใหม่อีกครั้ง
                  2.1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) เป็นแบบทดสอบที่สร้างและผ่าน กระบวนการพัฒนาจนมีคุณภาพได้มาตรฐาน
         2.2 แบบทดสอบความถนัด (Attitude Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทางสมอง (Mental Ability) ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ ใช้สําหรับทํานายสมรรถภาพทางสมองว่าสามารเรียนไปได้ไกลเพียงไร หรือมีความถนัดไปในทางใด
         2.3 บททดสอบบุคลิกภาพและสถานภาพทางสังคม (Personal Social Test) เป็นแบบทดสอบที่ ของคน เช่น เจตคติ ความสนใจ นิสัย ค่านิยม ความเชื่อ การปรับตัว สถานภาพทางสังคม และสถานภาพทางอารมณ์ เป็นต้น
3. จําแนกตามลักษณะการตอบ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
         3.1 แบบทดสอบความเรียง (Essay Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบหาคําตอบและเรียบ เสียงคําตอบขึ้นเอง ผู้ตอบสามารถแสดงความรู้ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
         3.2 แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งให้ผู้ตอบตอบเพียงสั้นๆ หรือ เลือกคําตอบจากที่กําหนดไว้
แบบทดสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน
         แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีจุดมุ่งหมายและความสามารถ ในการวัดต่างกัน ดังนั้นการนําแบบทดสอบไปใช้จึงต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ จดมุ่งหมายที่นําไปใช้ แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในการเรียนการสอนนั้นเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ ผู้สอนสร้างขึ้นเองโดยจําแนกตามลักษณะการตอบเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
         1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง (Subjective or Essay Test)
         2. แบบทดสอบปรนัย (Objective Test)
รายละเอียดของแบบทดสอบแต่ละประเภทมีดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง เป็นแบบทดสอบที่ให้คําตอบโดยไม่มีขอบเขตของคําตอบ ที่แน่นอนไว้ การตอบใช้การเขียนบรรยายหรือเรียบเรียงคําตอบอย่างอิสระตามความรู้ ข้อเท็จจริง ตามความ คิดเห็นและความสามารถที่มีอยู่โดยไม่มีขอบเขตจํากัดแน่นอนตายตัวที่เด่นชัด นอกจากกําหนดด้วยเวลา การ ตรวจให้คะแนนไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากมักขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบเป็นสําคัญแบบทดสอบนี้ ยังแบ่งได้ เป็น 2 แบบดังนี้
         1.1 แบบทดสอบจํากัดคําตอบซึ่งจะถามแบบเฉพาะเจาะจงแล้วต้องการคําตอบเฉพาะเรื่อง ผู้ตอบต้องจัดเรียงลําดับความคิดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้ตรงประเด็นดังนั้นผู้ออกข้อสอบจึงต้องระมัดระวังใน เรื่องคําสั่งของโจทย์ ขอบเขตเนื้อหา เวลาในการเขียนตอบ และความสะดวกในการให้คะแนนได้มากกว่า แบบไม่จํากัดคําตอบ เพราะแบบทดสอบแบบนี้จะมีเกณฑ์ต่างๆ ที่จะตัดสินคะแนนให้ยุติธรรมมากกว่าแบบ ไม่จํากัดคําตอบ นอกจากนี้แบบทดสอบแบบอัตนัยประเภทจํากัดคําตอบนี้ยังตรวจได้ง่ายเพราะคําตอบที่ถูก จะอยู่ในกรอบที่กําหนดไว้ ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะนํามาใช้เมื่อมีผู้เข้าสอบเป็นจํานวนมาก และต้องการดู ความสามารถในการเขียนของผู้ตอบด้วยตัวอย่างเช่น
2000
         • จงเปรียบเทียบลักษณะของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองเอ การมาอย่างละ 3 ข้อ
         • จงบรรยายขั้นตอนการทําน้ําให้สะอาดให้ครบทุกขั้นตอน ฯลฯ
         1.2 แบบทดสอบแบบไม่จํากัดคําตอบหรือแบบขยายความ แบบทดสอบแบบนี้จะถามความ ความสามารถต่างๆ โดยให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ซึ่งจะสามารถวัดสมรรถภาพทางความ ริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ การประเมินค่าได้อย่างกว้างขวาง ปริมาณและคุณภาพของคําตอบจึงขึ้นอยู่กับคําถาม และความรู้ที่สะสมไว้ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด การกําหนดเวลาในการเขียนตอบ จึงต้องกําหนดให้เหมาะสม กับเรื่องที่ต้องการทราบ แบบทดสอบแบบนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการรวบรวมความคิด การประเมินค่ามาก การใช้วิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งแบบทดสอบแบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่การให้คะแนน เพราะเป็นการยากที่ จะหาเกณฑ์ในการให้คะแนนได้ถูกต้องและชัดเจนเนื่องจากผู้ตอบมีอิสระในการคิดและเขียนโดยเสรี
ตัวอย่างเช่น
         • จงเสนอโครงการในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีบุคลิกภาพที่ดี ตามความคิดเห็นของท่าน
         • พุทธศาสนาจะช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ ฯลฯ
2. แบบทดสอบแบบปรนัย แบบทดสอบแบบนี้จะกําหนดคําถามและคําตอบไว้ให้ โดยผู้ตอบ จะต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคําตอบ แบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีลักษณะเด่นที่ผู้ตอบ จะต้องใช้เวลาส่วนมากไปในการอ่านและคิด ส่วนการตอบใช้เวลาน้อย การตรวจทําได้ง่ายใช้ใครตรวจก็ได้ และสามารถใช้เครื่องสมองกลช่วยตรวจให้ได้ เพราะผลที่ได้จากการตรวจจะไม่แตกต่างกันเลย แบบทดสอบ แบบปรนัยนี้มีทั้งให้ผู้ตอบเขียนคําตอบเองกับเลือกคําตอบที่กําหนดให้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
         2.1 แบบทดสอบเขียนคําตอบ ได้แก่
                  2.1.1 แบบทดสอบแบบตอบสั้น เป็นข้อสอบที่ผู้ตอบจะต้องหาคําตอบเองแต่เป็นคําตอบ สั้น ๆ เหมาะสําหรับใช้วัดความรู้ ความจํา เกี่ยวกับคําศัพท์ ข้อเท็จจริง หลักการและหลักเกณฑ์ต่างๆ เป็นการ ให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น
         • ยานอวกาศลําแรกที่ลงบนดวงจันทร์ (ยานอพอลโล่ 11) • 6+9 จะได้คําตอบเท่าไร (15)
         • ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่าอะไร (ป่าดงดิบ) ฯลฯ
                  2.1.2 แบบทดสอบแบบเติมคํา มีลักษณะคุณสมบัติและการใช้คําเหมือนกับแบบตอบสน ต่างกันที่การถาม แบบเติมคําจะเว้นช่องว่างไว้ให้เติมคําตอบ ตัวคําถามจะเป็นประโยคไม่สมบูรณ์ แต่
ตอบสั้นจะเป็นประโยคสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น
         ยานอวกาศลําแรกที่ลงบนดวงจันทร์
         - 6+9 =... .................... (15)
         - ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่า........(ป่าดงดิบ)
         2.2 ข้อสอบแบบเลือกคําตอบ ได้แก่
                  2.2.1 ข้อสอบแบบถูก-ผิด เป็นข้อสอบที่กําหนดให้ผู้ตอบเลือกคําตอบว่าข้อความที่ กําหนดให้นั้นถูกหรือผิดเท่านั้น ข้อสอบแบบนี้เหมาะสําหรับวัดผลการเรียนรู้ระดับความรู้ความจําลักษณะ เล่นเดียวกับแบบตอบสั้น คือ สร้างความง่ายผู้ตอบเสียเวลาตอบน้อย วัดเนื้อหาได้มาก มักมีค่าความเที่ยงสูง แต่เปิดโอกาสให้เดาได้มาก ตัวอย่างเช่น
         • ลายเสือไท ถือว่าเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม
         • ตําบลเป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุด
         • ผิวพื้นที่ขรุขระจะมีแรงเสียดทานน้อยกว่าผิวพื้นที่เรียบ ฯลฯ
                  2.2.2 ข้อสอบแบบจับคู่ เป็นข้อสอบให้เลือกจับคู่ระหว่างคําหรือข้อความสองแถว ให้คํา หรือข้อความทั้งสองนั้นสอดคล้องกัน โดยมากมักจะใช้ข้อความว่ามีความหมายตรงกัน ข้อสอบชนิดนี้เหมาะ สําหรับวัดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงคําศัพท์ หลักการ ความสัมพันธ์ และการตีความในเรื่องเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
         -.............ก. ไม้กระดานที่พาดเอียงกับขอบรถ                             1. ขวาน     
         -..............ข. เครื่องผ่อนแรงที่ใช้ยกรถ                                      2. คานดีด คานงัด
         -.............ค. เครื่องมือผ่อนแรงในการตัดต้นไม้                            3. แม่แรง   
         -.............ง. เครื่องมือผ่อนแรงในการยกของพื้นที่สูง                     4. รอก
         -.............จ. ไม้กระดานกระดก                                             5. พื้นลาด พื้นเอียง
                  2.2.3 แบบทดสอบแบบเลือกตอบ เป็นข้อสอบที่บังคับให้ผู้ตอบเลือกคําตอบจากที่ กําหนดให้ ปกติจะมีคําตอบให้เลือกตั้งแต่ 3 ตัวเลือกขึ้นไป แต่มักไม่เกินตัวเลือก ข้อสอบชนิดนี้นิยมใช้กัน ทั่วไป ใช้วัดผลการเรียนรู้ได้เกือบทุกระดับ แม้จะสร้างความยากต้องเสียเวลาสร้างมาก แต่คุ้มกับแรงงานและ เวลาที่เสียไป เพราะสามารถเก็บไว้ใช้ได้ต่อไป ตัวอย่างเช่น
         • What color is the tree?
                  a. Pink                     b. Purple                C. Green
         • พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระนามเดิมว่าอย่างไร
                  ก. พ่อขุนบางกลางหาว              ข. พ่อขุนศรีนาวนําถม
                  ค. พ่อขุนผาเมือง                    ง. พ่อขุนบานเมือง
         กล่าวโดยสรุปแล้วแบบทดสอบหรือข้อสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนทั้งแบบทดสอบแบบปรนัยหรือความเรียง และแบบทดสอบแบบปรนัยต่างมีข้อดีและข้อจำกัดด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่นําไปใช้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนว...