วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

1. การประเมินอิงมาตรฐาน Standard Based Assessment

         S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcom) รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
         มาตรฐานมีความสําคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียน มาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการสอนที่ประสบ สําหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุด เมื่อผู้สอนมองการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่า การสอนตอ ต่อมาตรฐาน เพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคําถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐาน ดังนี้
ใครกําลังสอนมาตรฐานใด เพื่อตอบคําถามว่า ใครสอนมาตรฐานอะไร ไม่ใช่ ใครสอนหัวใด
ใครกำลังประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง โดยวิธีใด เพื่อตอบคําถามว่า ใครประเมินมาตรฐานใด
         การนํามาตรฐานมาใช้เพื่อกําหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานใด แต่การเชื่อมโยง ระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอ ส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลย เมื่อมีข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนํามาใช้ในการสอนและการประเมินผลแล้ว ก็จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและ ประเมินผลอะไรในระดับชั้นใด และวิชาใด โดยวิธีใด สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานได้นํามาใช้ในการ สอนและการประเมินผลอย่างไร การเริ่มต้นด้วยมาตรฐานในการสอนและการประเมินผลที่ใช้อยู่ในชั้นเรียน หรือรายวิชานั้น ๆ เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด จากนั้นจึงเคลื่อนไปสู่มาตรฐานที่ยังไม่ได้สอนหรือการประเมินผล ต่อไป และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการทบทวนเพื่อตัดสินใจ/ตอบคําถามดังต่อไปนี้
         แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่ ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง มีสิ่งใดบ้าง ที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
         ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอ และแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่
         สอนย้ำแต่ละมาตรฐานบ่อยๆมากเพียงพอที่จะทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกขึ้นหรือไม่
         มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มาตรฐานทําให้เกิดโครงสร้างซึ่งนําไปสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึกได้ มาตรฐาน ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เป็นแหล่งวิทยาการที่สําคัญสําหรับผู้สอน คําถามที่ผู้สอนจะต้องให้ความสําคัญคือ
         มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
         ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่
         การนําเสนอมาตรฐานอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ และผู้สอนสามารถนําไปใช้ได้หรือไม่
         เราจะนํามาตรฐานไปใช้ในชั้นเรียนและโรงเรียนทั่วทั้งเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนว...