วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

3. หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน

         การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสําคัญ การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ ระดับชาติ มาตรฐานการเรียนรู้และท้องถิ่น ไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียนและคร Baris, Douglas E and Car, Judy F (1996 : 18) ได้นําเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหลักสูตรการเรียนการสอน และการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังแผนภาพประกอบ
จากแผนภาพประกอบที่ สรุปได้ว่า
         กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึงประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
         หลักสูตรและการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียน สะท้อนถึงมาตรฐานที่กําหนดในกรอบ หลักสูตรมลรัฐ
         กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียน เชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้มล รัฐ หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา ในขณะเดียวกันก็ต้องสนองตอบความสนใจและความต้องการ ของนักเรียน และชุมชน ด้วยเหตุผลดังกล่าวกิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียน จึงควรสร้างจาก แหล่งข้อมูลของท้องถิ่น หรือเหตุการณ์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่น การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ท้องถิ่น และมลรัฐ ควรใช้ข้อมูลจากผลงานและการ ปฏิบัติงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะบอกได้อย่างดีว่าผล การเรียนของนักเรียนถึงมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานสู่ความสําเร็จ : หลักสูตร การประเมินผล และแผนปฏิบัติการ
         กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน Carr, Judy F and Harris, Douglas E (200 -49)เสนอคําถามที่เกี่ยวข้องคือ จะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไร - ประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบ การวัด หรือการให้คะแนน แต่การประเมินเป็นบรณาการ การสอน เป็นกระบวนการของการวัดปริมาณ การอธิบาย การรวบรวมข้อมูลหรือการให้ผลป้อนกันเกี่ยว การเรียนรู้ เพื่อให้รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการประเมินชั้นเรียนโดยใช้มาตรฐาน เป็นฐานคือ บอกให้รู้เกี่ยวกับการสอนและการปรับปรุงการเรียนรู้ ยิ่งไปกว่านั้นการประเมินยังสะท้อนสิ่งต่างๆ ดังนี้
         ให้แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการศึกษา
         ชี้ให้เห็นความสําเร็จของนักเรียนแต่ละคน หลักสูตรเฉพาะและการปฏิบัติในสถานศึกษา
         ชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้และทักษะแบบบูรณาการตลอดหลักสูตรหรือไม่
         เสนอวิธีการและข้อมูลเพื่อสื่อถึงผลการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
         การประเมินประสิทธิผลของชั้นเรียนต้องกระทําอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการเรียนรู้ใน ขณะนั้น รวมทั้งมีลักษณะรวบยอด (แต่ละองค์ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทั้งหมด คํานึงถึงความต้องการ ของผู้เรียนกลุ่มต่างๆ และคํานึงถึงจุดดีและปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน) ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากหลักสูตร
เดียวกันหรือข้ามหลักสูตร
         มีลักษณะหลากหลาย (หลากหลายแง่มุมและยืดหยุ่นได้ เหมาะสมทั้งด้านพัฒนาการแต่ง วัฒนธรรม คํานึงถึงรูปแบบการเรียนรู้และพหุปัญญา ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง)
เชื่อถือได้เชิงเทคนิค (มีความต่อเนื่องและกระทําติดต่อกัน แม่นตรงและเชื่อถือได้ และรายงานอย่างถูกต้อง)
         การว่างแผนการประเมินต้องมองในมุมกว้าง แผนการประเมินคือเครื่องมือออกแบบหรือชุดของ ตัวเลือกที่คํานึงถึงว่า การเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการประเมินให้สัมพันธ์กับมาตรฐานได้อย่างไร การใช้ แผนการประเมินนี้ทําให้มั่นใจได้ว่า
         ผลป้อนกลับจากการนําแผนการประเมินไปใช้ จะชี้แนะกระบวนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการ เรียนการสอน
         นักเรียนมีโอกาสหลากหลายที่จะแสดงผลสําเร็จตามมาตรฐานที่กําหนดไว้
         นักเรียนให้คําตอบที่สรรค์สร้างเองได้หลายแบบ เช่น ผลงาน (รายงานที่เขียน ภาพ หุ่นจําลอง แผนที่) และการปฏิบัติ กิจกรรม การสืบค้น การสัมภาษณ์ การแสดงละคร) การตอบสนองของนักเรียนหลายแบบ บอกให้รู้พหุปัญญา และจุดแข็งต่าง ๆ ของนักเรียนแต่ละคน การประเมินด้วยคําตอบแบบเลือกตอบและการ ตอบแบบสั้นมักเป็นส่วนหนึ่งของแผนการประเมินนี้
         แนวการให้คะแนนแบบต่าง ๆ ใช้เพื่อกําหนดผลป้อนกลับด้านการเรียนรู้ของนักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนว...