วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวนบทที่6

          ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นการบูรณาการความรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและ ประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา ความสามารถของผู้เรียนในการคิด การเผชิญสถานการณ์ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การพัฒนาทางด้าน ค่านิยม จริยธรรม เจตคติต่างๆ การพัฒนาทางด้านการคิด การปฏิสัมพันธ์และการทํางานเป็นกลุ่ม รวมทั้งการ ปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542
แผนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง  แรงดันอากาศ


วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
1. จุดประสงค์
          1. นักเรียนบอกได้ว่าแรงดันอากาศภายนอกแก้วมากกว่าแรงดันอากาศภายในแก้ว
          2. นักเรียนสามารถบอกทิศทางของแรงดันอากาศที่กระทำต่อวัตถุ
2. สาระที่ควรเรียนรู้
          - อากาศมีน้ำหนักและอากาศมีแรงดันบนที่สูงจะมีแรงดันอากาศน้อยกว่าบนพื้นดิน
3. ประสบการณ์สำคัญ
          - การรู้จักการรอคอย จากการรอทำการทดลองต่อเพื่อน
          - การใช้ภาษาในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
          - การคิดเชิงเหตุผล คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการลงความคิดเห็น
          - การแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบโดยการใช้ประสาทสัมผัสด้านการมอง ฟัง และสัมผัสสิ่งต่าง ๆ
4. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
          1. ครูทักทายนักเรียนและแนะนำตัวเอง และบอกว่าวันนี้นักเรียนจะเรียนรู้เรื่องอะไร
          2. ครูกระตุ้นคำถาม เด็ก ๆ อากาศอยู่ที่ไหนบ้างค่ะ
          3. ฝึกเด็กตั้งสมมติฐาน ด้วยการถามกระตุ้น เด็ก ๆ คิดว่าเราจะสามารถกักน้ำไว้ได้อย่างไร”
          4. ครูนำแผ่นชาร์ตการทดลองมาให้นักเรียนดู  พร้อมอธิบายการทดลองดังนี้

                           การทดลอง  กักน้ำไว้ได้
                    วัสดุอุปกรณ์
- อ่างน้ำพลาสติกขนาดใหญ่      
- ถ้วยตวงหรือเหยือกน้ำ         
- กรรไกร       
- แก้วขนาดเล็กที่มีขนาดพอดีมือเด็ก       
- ฝาพลาสติกกล่องไอศกรีมหรือกระดาษแข็ง
- หลอดดูด      
- แก้ว
                     ขั้นตอนการทดลอง
                               1. ให้เด็กตัดกระดาษแข็งเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยมเพื่อใช้ปิดปากแก้ว กระดาษควรมีขนาดใหญ่กว่าปากแก้วประมาณ1เซนติเมตรกระดาษที่กว้างกว่าขอบแก้วมากจะช่วยให้คว่ำแก้วได้สะดวก
                               2. หลังจากนั้นเทน้ำลงในแก้วให้เต็ม
                               3. ให้เด็กทำการทดลองนี้โดยมีภาชนะขนาดใหญ่รอง
                               4. ให้เด็กใช้กระดาษปิดปากแก้วให้สนิท
                               5. ใช้มือกดกระดาษให้ติดกับปากแก้วให้แน่น
                               6. คว่ำแก้วลงช้าให้แก้วตั้งอยู่บนปลายฝ่ามือ ตอนนี้กระดาษจะอยู่ด้านล่าง หากแก้วตั้งอยู่บนนิ้วได้ตรงจะไม่มีน้ำไหลออกมาจากแก้ว
                               7. ถามเด็กว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อค่อยดึงแก้วขึ้นด้านบน ให้เด็กทุกคนนับหนึ่งถึงสามเพื่อสร้างความตื่นเต้นจากนั้นให้เด็กยกแก้วขึ้นด้านบนช้า ๆ
          5. ครูสาธิตการทดลองให้นักเรียนดู
          6. อาสาให้ตัวแทนนักเรียนออกมาทำการทดลองให้เพื่อน ๆ ดู
          7. ครูชักชวนนักเรียนให้ทำการทดลอง
          8. จัดเตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ที่ได้แบ่งไว้เป็นกลุ่มๆ 4-5 คน แล้วให้นักเรียนเข้าประจำชุดการทดลอง
          9. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองว่า แรงดันอากาศภายนอกแก้วจะออกแรงดันกับกระดาษ ที่ปิดปากแก้วอยู่ตลอดเวลาและสามารถเอาชนะแรงดันอากาศภายในแก้วได้น้ำจึงถูกกักอยู่ในแก้วและเมื่อเราใช้กระดาษบางจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าแผ่นกระดาษนั้นโค้งเว้าเข้าไปภายในแก้ว  
5. สื่อ
1. อ่างน้ำพลาสติกขนาดใหญ่      
2. ถ้วยตวงหรือเหยือกน้ำ          
3. กรรไกร       
4. แก้วขนาดเล็กที่มีขนาดพอดีมือเด็ก      
5. ฝาพลาสติกกล่องไอศกรีมหรือกระดาษแข็ง
6. หลอดดูด     
7. แก้ว
8. แผ่นชาร์ตการทดลอง
9. แบบบันทึกการทดลอง
6. การประเมินผล
          1. สังเกตแรงดันของอากาศ
          2. สังเกตการสนทนาและการตอบคำถาม
          3. สังเกตการบันทึกผลการทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อค

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนว...